ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี

ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี

      ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี
ก่อนรอบระยะเวลาบัญชี ปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรโดยทั่วไปในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย
แต่ในทางภาษีอากรกำหนดยอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไข 

     1. ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันโดยทั่วไปผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชีและในทางภาษีอากร อย่างไรก็ตามในทางภาษีอากรยอมให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมา ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี ปัจจุบัน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิในทางภาษีอากร ได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้
     (1) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง ประมวล
          รัษฎากร
     (2) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่นับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปี
          ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
     (3) การนำผลขาดทุนสุทธิไปถือเป็นรายจ่ายให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะ
          เวลาบัญชี ที่เกิดขึ้น ก่อนไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบ
          ระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิ เป็นปีแรกในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีหลังจากปี ที่มี
          ผลขาดทุนสุทธิดังกล่าว ตามหลักผลขาดทุน เกิดขึ้นก่อนให้นำมาหักก่อน
          (First-loss, First-use) ในกรณีที่ยังมีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ ก็ให้นำผล
          ขาดทุนสุทธิดังกล่าว ไปหักเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบ
          ระยะเวลาบัญชีปีต่อไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น
     (4) ให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาถือเป็นรายจ่ายได้เพียงเท่าที่ไม่เกินกว่ากำไร
          สุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. วิธีคำนวณผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ที่จะนำไปถือเป็นรายจ่าย
ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ให้คำนวณตั้งแต่รอบระเวลาบัญชีปีแรกที่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนดังนี้

     (1) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำไรสุทธิมาตั้งแล้ว นับย้อนกลับขึ้นไป 5 ปี ก่อนปีที่มีกำไรสุทธิดังกล่าว ให้นำผลขาดทุนสุทธิของ รอบระยะเวลาบัญชีปีแรก ในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิ มาหักเป็นรายจ่าย หากยังเหลือ เป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลขาดทุนสุทธิ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ มาในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายได้ต่อไป จนกว่าจะปรากฏผล เป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลกำไรสุทธินั้นไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคลต่อไป กรณีปรากฏผล เป็นขาดทุนสุทธิ ซึ่งเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี ที่นำผลขาดทุนสุทธิ มาคำนวณหักเป็นรายจ่าย ให้หยุดคำนวณ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าว

      (2) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อมามาตั้ง แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ (1) ข้างต้น
  • ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนปีปัจจุบันอย่างไร
  • วิสัชนา ให้ดำเนินการวางแผนเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
      1. ผลขาดทุนสุทธิที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ต้องใช้ผล
ขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรที่ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากรแล้วมิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางบัญชีการเงิน
ตามบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป

      2. การประกอบกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจมีข้อได้เปรียบยิ่งกว่าการประกอบกิจการ
ในรูปของบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ในประเด็นที่กำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิหากมีผลขาดทุนสุทธิ
นอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังสามารถยกยอดผลขาดทุนสุทธิไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี
ปีต่อๆ ไปได้อีกไม่เกิน 5 ปี

     3. ให้พยายามสร้างรายได้และผลกำไรสุทธิ เพื่อนำผลขาดทุนสุทธิยกมาในรอบบัญชีปีก่อนมาหักเป็นรายจ่าย
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยหากิจกรรมที่มีกำไรสูงเข้ามาในกิจการ

     4. ในกรณีที่ผลการประกอบกิจการมีขาดทุนสุทธิมาก แต่ผู้ถือหุ้นต้องการเงินปันผลจากบริษัท อาจใช้วิธีการลดทุน
เพื่อลดผลขาดทุนสะสมในทางบัญชี ซึ่งทำให้ไม่มีผลขาดทุน สะสมคงเหลืออีกต่อไป แต่ในทางภาษีอากรยังคงมีสิทธินำผล
ขาดทุนสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน
     
     5. ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาถือเป็นรายจ่ายได้ และในขณะเดียวกันกิจการก็สามารถจ่ายเงินปันผล
ให้แก่ผู้ถือหุ้นได้



ที่มา : http://prasitwiset.is.in.th/?md=content&ma=show&id=243

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์