ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย



การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • 1. บุคคลธรรมดา : ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 2. นิติบุคคล : ใช้แบบ ภ.ง.ด.53

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีเอกสารประกอบการบัญชี ดังนี้

  • ใบสำคัญจ่าย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป)
  • สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่าย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั่นๆค่ะ

1. ใบสำคัญจ่าย เช่น ค่าบริการ ต้องมี

  • ชื่อ “คนรับ“ ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคลจ่ายให้
  • จำนวนเงินค่าบริการ
  • จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ยอดที่ต้องจ่ายจริง

2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป )

  • **สำหรับ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคล ที่หักก่อนจ่าย มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหัก และต้องนำส่งภาษีเงินได้นี้ ให้กับกรมสรรพากร จึงจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะถ้าหากไม่ทำ ไม่นำส่ง ค่าใช้จ่ายนี้สามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่ในทางภาษีจะไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของปีนั้นๆได้ ทั้งนี้จะถูกบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้กำไรทางภาษีมากขึ้น และเสียภาษีมากขึ้น

3. สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่ายผ่าน Mobile Banking) **จ่ายเป็นเงินสด ก็ไม่ต้องแนบ**

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั้นๆค่ะ

ข้อสรุป ***ก่อนจ่ายเงินได้ให้กับคนรับ อย่าลืม!หักก่อนจ่าย และที่สำคัญ*หักไว้แล้วต้องนำส่งกรมสรรพากรด้วยนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : Link

 473
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์