ตราประทับ

ตราประทับ



การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็น บริษัท ห้างหุ้นส่วน สมาคม ฯลฯ ส่วนใหญ่จะใช้ตราประทับ หรือ ตรายางในการจดทะเบียนจัดตั้ง เพื่อใช้สำหรับรับรองเอกสารในการทำธุรกิจ หรือธุรกรรมต่างๆ ควบคู่กับลายเซ็นของกรรมการบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนั้นๆ แต่ทั้งนี้นิติบุคคลบางรายก็ไม่ใช้ตราประทับในการรับรองเอกสาร ใช้เพียงลายเซ็นของกรรมการเท่านั้น

แก้ไขตราประทับ

สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่มีตราประทับอยู่แล้ว แต่ต้องการแก้ไขตราประทับใหม่ หรือตราประทับสูญหาย ไม่มีแบบตราประทับเดิมเก็บไว้ ทำให้ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตราประทับ หรือตรายางใหม่

ตามกฎหมาย การจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ ไม่จำเป็นต้องจัดประชุมกรรมการหรือจัดประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ต้องมีมติที่ประชุม สามารถทำเอกสารและทำตราประทับอันใหม่ไปยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงได้เลย แต่ถ้าตราประทับอันเก่าสูญหาย ให้ระบุในเอกสารว่า ตราสูญหาย ถ้าต้องการแก้ไขตรายางใหม่ให้นำตราประทับเก่าไปยื่นในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงด้วย

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

ขั้นตอนสำหรับการแก้ไขตราประทับบริษัท หรือ ตราประทับห้างหุ้นส่วน มีเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ได้แก่

  1. จัดประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ประชุมคณะกรรมการ หรือ ประชุมหุ้นส่วน เพื่อลงมติให้มีการแก้ไขตราประทับ (ตรายาง)
    แต่ในส่วนนี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีการจัดประชุม
  2. จัดทำเอกสารคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขตราประทับใหม่
  3. นำเอกสารที่จัดทำและตราประทับอันเก่าไปยื่นจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยการยื่น
    จดเปลี่ยนแปลงตรายางหรือตราประทับนั้นจะต้องยื่นในนามกรรมการ ถ้ากรรมการไม่สะดวกไปยื่นด้วยตนเอง
    กรรมการต้องเซ็นเอกสารจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตราประทับหรือตรายาง และเซ็นเอกสารใบมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขแทน
  4. ขั้นตอนสุดท้าย คือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับเอกสาร และดำเนินการจดเปลี่ยนแปลงตราประทับให้แก่
    ผู้ประกอบการ แต่ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีความชำนาญ ผู้ประกอบการบางท่านอาจทำเอกสารผิด หรือให้ข้อมูลผิด
    จึงจะต้องกลับไปแก้ไขเอกสาร และไปดำเนินการยื่นจดเปลี่ยนแปลงใหม่ ทำให้เสียเวลา

รูปแบบตราประทับที่ถูกต้อง

  • ตราประทับบริษัท ถ้ามีชื่อบริษัทภาษาไทย จะต้องมีคำนำหน้าว่า บริษัท ลงท้ายด้วยคำว่า จำกัด ตัวอักษรต้องชัดเจน
  • ตราประทับบริษัท ถ้ามีชื่อภาษาอังกฤษ จะต้องลงท้ายด้วยคำว่า CO., LTD. หรือ COMPANY LIMITED จะเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ตัวอักษรต้องชัดเจน
  • ตราประทับห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้ามีชื่อห้างหุ้นส่วนภาษาไทย จะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วตามด้วยชื่อห้างหุ้นส่วนนั้นๆ ตัวอักษรเห็นชัดเจน
  • ตราประทับห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้ามีชื่อห้างหุ้นส่วนภาษาอังกฤษ จะต้องลงท้ายด้วยคำว่า LIMITED PARTNERSHIP ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็กก็ได้ ตัวอักษรเห็นชัดเจน
  • กรณีสุดท้ายถ้าตราประทับมีชื่อบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนั้นๆ ไม่ครบตามใบจองชื่อ ไม่จำเป็นต้องมีประโยคขึ้นต้นหรือต่อท้ายตาม 4 ข้อด้านบนที่กล่าวมา

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link
 580
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์