การยื่นขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS)

การยื่นขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS)



ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะปลีก หรือให้บริการในลักษณะรายย่อยแก่คนเป็นจำนวนมาก ได้แก่ผู้ประกอบการ ร้านค้าปลีก  ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ร้านอาหาร  ร้านขายยา  ร้านขายเสื้อผ้า  ร้านขายของชำ เครื่องบันทึกการเก็บเงิน(POS) เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ช่วยให้ความสะดวกและประโยชน์แก่ผู้ประกอบการดังกล่าวในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความถูกต้องแม่นยำในเรื่องราคาสินค้าและบริการ เพราะสามารถเก็บข้อมูลและราคาสินค้า รวมถึงสต๊อกสินค้า ทำให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นและถูกต้องแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาสินค้า การคิดเงิน การทอนเงิน นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบในการบริหารธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพโดยสามารถดูรายการสินค้า สต๊อคสินค้า ปริมาณการขาย เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานกิจการ รวมถึงบริหารพนักงาน มีสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ต้องการมีเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) มาใช้ในกิจการ ต้องทราบในกรณีที่ผู้ประกอบการนั้นเป็นผู้ประกอบการที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

ผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษี ต้องยื่นคำขอต่อสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่  ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอต่อสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่หรือยื่นต่อสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าว การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรก่อน จึงจะสามารถใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) ได้ มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำและปรับ

ขั้นตอนการยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS)

1. ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) และเอกสารประกอบดังต่อไปนี้

1.1 คำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน(POS)  เพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.06) แยกเป็นรายสถานประกอบการ 

1.2 คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS)รายละเอียดของรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่อง ระบบเครือข่าย (มี/ไม่มี) และแผนผังการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงิน(POS) กับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ

1.3 ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อและรายงานต่างๆ ที่ออกจากเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) ตัวอย่างรายงานการขายสินค้า หรือการให้บริการประจำวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS)

1.4 แผนผังแสดงตำแหน่งการวางเคริ่องบันทึกการเก็บเงิน(POS)  ณ สถานประกอบการ

1.5 อื่นๆ เช่น แบบแจ้งการจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานไว้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หนังสือขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) เพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฏากรข้อ 9 ของประกาศอธิบดีสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 

2. กรมสรรพากรพิจารณาคำขอใช้เครื่องบันทึกเก็บเงิน (POS)

เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะทำการตรวจสอบคำขอและเอกสารแนบ และตรวจคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) พร้อมทั้งตัวอย่างใบกำกับภาษี และรายงานต่างๆ 

3. กรมสรรพากรแจ้งผลเลขรหัสประจำเครื่องบันทึกเก็บเงิน (POS)

หากแบบฟอร์มและเอกสารนั้นถูกต้องครบถ้วน กรมสรรพากรจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS)

4. ผู้ประกอบการดำเนินการให้เครื่องบันทึกเก็บเงิน (POS) ทำการบันทึกเลขรหัสประจำเครื่อง

เมื่อได้เลขรหัสประจำเครื่องแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) บันทึกเลขรหัสประจำเครื่องที่กรมสรรพากรกำหนดในใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี และทุกแห่งที่กรมสรรพากรระบุให้ปฏิบัติ

5.ผู้ประกอบการแจ้งกรมสรรพากรให้มาติดแถบสติ๊กเกอร์

เมื่อระบุเลขรหัสไว้ในใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี และจุดอื่นที่สรรพากรระบุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน(POS) ตั้งอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการ
ติดแถบสติ๊กเกอร์ 

6. เจ้าหน้าที่ตรวจคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) และติดแถบสติ๊กเกอร์

เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเครื่องบันทึกการเก็บเงิน(POS)  และทำการติดแถบสติกเกอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้วทางผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีจากเครื่องบันทึกการเก็บเงิน(POS) ได้ อย่างถูกต้องตามกฏหมายสรรพากร


ที่มา : Link

 2125
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์