วิธีจัดการบัญชี-การเงิน ให้ผ่านช่วงวิกฤตของธุรกิจ

วิธีจัดการบัญชี-การเงิน ให้ผ่านช่วงวิกฤตของธุรกิจ




วิกฤต โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่วไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการควรทำทันทีเพื่อสำรวจสถานะการเงินและค่าใช้จ่ายในธุรกิจคือ ดูงบการเงินชุดล่าสุดเพื่อเช็คว่ารายได้ที่น้อยลงไปนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง

1. ลดรายจ่าย

ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการประหยัดในทุก ๆ เรื่อง สำรวจดูว่ามีรายจ่ายอะไรที่สามารถตัดออกได้บ้าง

2. จัดทำประมาณการงบประมาณรายได้-รายจ่ายใหม่

ภายใต้สมมุติฐาน 2 แบบคือ เมื่อรายได้ลด50% และเมื่อไม่มีรายได้เข้ามาเลย เพื่อเริ่มควบคุมการใช้จ่ายอย่างเข้มข้น

3. ปรับระบบบัญชีให้เป็นระบบออนไลน์

เพื่อรองรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะการทำระบบบัญชีออนไลน์จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้เห็นงบการเงินแบบตามเวลาจริง (Real Time) ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ทันการณ์

 

ขั้นต่อมา อย่าลืมมองหาความช่วยเหลือจากส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างที่จะเห็นได้ว่ามีมาตรการต่างอๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอยู่มากมาย ลองสำรวจดูว่าจะใช้ประโยชน์จากมาตรการใดได้บ้าง มาตรการเด่น ๆ เช่น

มาตรการช่วยผ่อนคลายการเงิน

  • มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ยหรือยืดอายุชำระหนี้
  • มาตรการยืดหยุ่นในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ
  • สินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ดอกเบี้ย 3% สำหรับ 2 ปีแรก ระยะเวลากู้ไม่เกิน 5 ปี (อัพเดท 24 มี.ค.63)
  • สามารถดูรายละเอียดมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ https://gfa.or.th/sfi/Home/Measures

มาตรการทางภาษี

  • ปรับลดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถ้าเป็นธุรกิจบริการก็จะได้ประโยชน์คือ ถูกหักภาษีน้อยลง ทำให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
  • คืน VAT ให้ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีให้เร็วขึ้น โดยหากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตจะได้คืนให้ภายใน 15 วัน ยื่นแบบกระดาษคืนให้ภายใน 45 วัน
  • เฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและทำบัญชีชุดเดียว สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 31 ธ.ค.63 ไปหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่า และยังสามารถนำค่าจ้างในส่วนของลูกจ้างที่มีค่าจ้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ในช่วง 1 เม.ย. – 31 ก.ค.63 ไปหักรายจ่ายได้ 3 เท่า โดยจำนวนลูกจ้างต้องไม่น้อยกว่าเดือน ธ.ค.62
  • เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินได้บุคคลธรรมดา
  • เลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการนำส่ง และชำระภาษีทุกประเภทที่กรมสรรพากรจัดเก็บ (พิจารณาเป็นรายกรณี)

มาตรการจากประกันสังคม

  • สำหรับกิจการ ลดอัตรเงินสมทบเหลือ 4% เป็นเวลา 6 เดือน (มี.ค.-พ.ค.63)
  • สำหรับลูกจ้างหรือพนักงาน กรณีไม่ได้ทำงานจะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างเป็นเวลาไม่เกิน 180 วัน หรือกรณีหยุดกิจการชั่วคราว จะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างเป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน

ที่มา : www.smeone.info
 1061
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์