ภาษีครึ่งปี คำนวณอย่างไร

ภาษีครึ่งปี คำนวณอย่างไร



เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน

ทั้งนี้สำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ อาจมีคำถามสำหรับการคำนวณภาษีครึ่งปีเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิ สำหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีนั้นมีความแตกต่างจากการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีรอบสิ้นปี เนื่องจากกำไรสุทธิที่นำมาคำนวณภาษีรอบครึ่งปีไม่ใช่กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงแต่เป็นการ “ประมาณการกำไรสุทธิ” ของกิจการโดยกิจการจะต้องประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบครึ่งปีโดยคำนวณจากครึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี

ตรงนี้ SME มือใหม่อาจจะสับสนกันว่าจะประเมินกำไรเท่าไหร่ดี ขอยกตัวอย่างดังนี้  เช่น บริษัท A ประมาณการว่าปีนี้ทั้งปีจะมีกำไรสุทธิ 4,000,000 บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีของ บริษัท A จะคำนวณได้จาก ครึ่งหนึ่งของ ประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี คือ 2,000,000 บาท คูณกับอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด คือ ร้อยละ 20 ดังนั้น บริษัท A จึงต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบ ครึ่งปีเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท(ยังไม่รวมการลดหย่อนอื่นๆ)

เกิดอะไรขึ้นหากประมาณการกำไรสุทธิไว้ต่ำเกินไป

ในกรณีนี้หากเจ้าของธุรกิจประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ชำระขาดไปตอนรอบครึ่งปี  แต่ยังไม่ต้องตกใจไป เพราะตรงนี้กำไรสุทธิอาจคลาดเคลื่อนไปอย่างมากจากที่ประมาณไว้ ด้วยเหตุสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้มีการอนุโลมให้ บริษัทที่ได้ยื่นเสียภาษีรอบครึ่งปี ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วให้ถือว่าการประมาณการดังกล่าวมีเหตุอันสมควรไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ยกตัวอย่างกรณีนี้ เช่น บริษัท A ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้ จำนวน 4,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ จำนวน 6,000,000 บาท บริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ต่ำกว่ากำไร สุทธิจริงที่ได้ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 2,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าบริษัทได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อย ละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ดังนั้นบริษัท A จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ได้ชำระไว้ขาดไป ซึ่งคำนวณได้ดังนี้

  1. 1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 6,000,000 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิของ บริษัท = 3,000,000 บาท
  2. คำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่ คำนวณได้ = 3,000,000x20% = 600,000 บาท
  3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (600,000 – 400,000) = 200,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป = (200,000x 20%) คือ = 40,000 บาท

อย่างไรก็ตาม หากรอบบัญชีก่อนหน้า บริษัท A  มีกำไรสุทธิ 3,000,000 บาท กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้คือ 2,000,000 บาท ก็จะมากกว่ากึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิในรอบบัญชีก่อนหน้า ดังนั้นบริษัท A จึงไม่ต้องเสียค่าปรับแต่อย่างใด  

 


อ้างอิง : กรมสรรพากร 

 360
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์