4 รูปแบบการควบรวมกิจการ

4 รูปแบบการควบรวมกิจการ


การควบโอนกิจการ การควบรวมกิจการ (Merger) หมายถึง กรณีที่นิติบุคคลตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป มีการโอนกิจการหรือทรัพย์สินหรือ หุ้นทั้งหมดให้แก่กันไม่ว่าในระดับผู้ถือหุ้นหรือในระดับบริษัท


รูปแบบที่ 1

การได้มาซึ่งหุ้น (Share Acquisition)

การควบรวมกิจการโดยวิธีได้มาซึ่งหุ้น อาจมีได้ทั้งกรณีชำระค่าหุ้นด้วยเงินสด (Payment in cash) และการชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่น (Payment in kind) ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาต เช่น การชำระด้วยหุ้นหรือการแลกหุ้น (Share swap) การเข้าชำระหนี้แทนผู้โอน หรือการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง เป็นต้น

รูปแบบที่ 2

การได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือธุรกิจของบริษัท (Assets Acquisition)

หมายถึงกรณีที่บริษัทหนึ่งตกลงซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด หรือธุรกิจของอีกบริษัทหนึ่งทำให้บริษัทผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ทั้งหมดของผู้โอน เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจต่อไป จำแนกเป็น 2 กรณี

➡️ ผู้โอนอาจจดทะเบียนเลิกกิจการหรืออาจประกอบกิจการอย่างอื่นใหม่ก็ได้

➡️ ผู้โอนอาจเป็นผู้ถือหุ้นของผู้รับโอน หรือมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ก็ได้

รูปแบบที่ 3

1) การโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer / EBT)

2) การโอนกิจการบางส่วน (Partial Business Transfer / PBT)

➡️ การโอนกิจการทั้งหมด คือ การที่บริษัท B โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ บริษัท A โดย บริษัท B จะต้องจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ แต่บริษัท A ยังคงประกอบกิจการต่อไป

➡️ การโอนกิจการบางส่วน คือ การที่บริษัท B โอนกิจการบางส่วนให้แก่บริษัท A หรือบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยการโอนกิจการบางส่วนนั้น จะต้องเป็นการ โอนหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ซึ่งได้แก่ ทรัพย์สิน,พนักงาน,หนี้สิน

รูปแบบที่ 4

การควบบริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Amalgamation)

➡️ การควบกิจการตาม ปพพ. (Amalgamation) เป็นการรวมบริษัทเดิม ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปเข้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนขึ้นใหม่จะมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นและบริษัทเดิมเลิกกิจการไป


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 
 1484
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์