งบกําไรขาดทุนมีอะไรบ้าง

งบกําไรขาดทุนมีอะไรบ้าง


หากความสำคัญของงบดุล (Balance Sheet) คือแผนผังแสดงโครงสร้างหลักของกิจการ เพราะเป็นรายงานที่บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์และหนี้สิน งบกำไร/ขาดทุน (Income Statement) ก็คงเปรียบได้กับแผนผังเส้นเลือดของกิจการ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการทั้งหมดพร้อมแสดงออกมาในรูปกำไรหรือขาดทุนเพื่อบ่งบอกการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นอีกรายงานทางการเงินที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก

ดังนั้น ในบทความนี้จึงรวบรวมสาระสำคัญเบื้องต้นของรายงานงบกำไร/ขาดทุน ที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจ อีกทั้งช่วยในการวางแผนกำไรและควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนเกินเพื่อการวางแผนเสียภาษีได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

งบกำไร/ขาดทุนคืออะไร

กิจกรรมการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี จะถูกแสดงความสามารถของธุรกิจว่ามีรายได้ และค่าใช้จ่ายเท่าใด ออกมาในรูปแบบของรายงานงบกำไร/ขาดทุน หรือ Income Statement โดยรายงานดังกล่าวนี้ มีหลักสมการที่สำคัญ คือ

“รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน)”

ซึ่งแต่ละตัวแปรของสมการมีความหมาย ดังนี้

1. รายได้ สำหรับบุคคลทั่วไป รายได้หมายถึงการได้รับผลตอบแทนจากการขายสินค้าหรือบริการ แต่ในทางบัญชีรายได้ หมายความครอบคลุมไปถึงสินทรัพย์ที่บริษัทถือครองไว้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือจากการลดลงของหนี้สินจากการปรับโครงสร้างหนี้ทำให้ส่วนทุนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยรายได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • ยอดขายสุทธิ เป็นตัวเลขแสดงรายได้จากการดำเนินการของกิจการโดยตรง เช่น การขายสินค้าหรือบริการ
  • รายได้อื่นๆ เป็นตัวเลขแสดงรายได้จากการดำเนินการของกิจการโดยอ้อมเช่น การขายสินทรัพย์ระยะยาว โรงงาน ที่ดิน เครื่องจักร เป็นต้น

2. ค่าใช้จ่าย สำหรับในทางบัญชีค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุน 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

  • ต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นต้นทุนที่เกิดพร้อมกับการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น
  • ต้นทุนในการบริหารงาน เป็นต้นทุนคงที่เกิดขึ้นทุกเดือน แม้จะไม่ได้ยอดขายจากสินค้าหรือบริการในเดือนนั้นๆก็ตาม เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าโรงงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าจ้างพนักงานออฟฟิส เป็นต้น
  • ต้นทุนทางการเงิน หมายถึงต้นทุนของสินทรัพย์ที่ถือครองไว้ เช่น ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินธนาคาร หรือค่าเสื่อมราคาจากสินทรัพย์ระยะยาว เช่น เครื่องจักร รถยนต์ อาคารหรือโรงงาน

3. กำไร(ขาดทุน) ขั้นต้น เมื่อนำผลรวมรายได้ทั้งหมดของกิจการ หักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็จะได้ผลตอบแทนออกมาในรูปกำไร หรือขาดทุนขั้นต้น (ก่อนหักภาษี) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นส่วนสำคัญในการคำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่ายภาษีของกิจการโดยกฏหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายภาษี ดังนี้

  • หากรายได้ > ค่าใช้จ่าย แปลว่ากิจการมีกำไร ดังนั้นกิจการจะต้องมีการเสียภาษี โดยเสียภาษีจ่าย = กำไร x อัตราภาษีเงินได้
  • หากรายได้ < ค่าใช้จ่าย แปลว่ากิจการขาดทุน ซึ่งกฏหมายกำหนดให้กิจการดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกิจการที่มีผลประกอบการขาดทุนจะไม่ต้องเสียภาษี เพราะกำไร (ขาดทุน) ที่นำมาคำนวณภาษีจะต้องเป็นตัวเลขที่ใช้ได้ทางภาษี นั่นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่นำมาหักออกจะต้องเป็นรายจ่ายที่ภาษีกำหนด โดยต้องไม่เข้าข่ายรายจ่ายต้องห้าม เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าใช้จ่ายรับรอง ซึ่งหากกิจการใดๆนำรายจ่ายต้องห้ามเหล่านี้มาหักออกจากรายได้เพื่อแสดงว่ากิจการมีผลประกอบการขาดทุน นอกจากกิจการนั้นๆจะมีความผิดทางกฏหมายต้องเสียภาษีแล้ว ยังอาจโดยปรับเบี้ยเพิ่มจนทำให้กิจการมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็เป็นได้

4. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ เป็นตัวเลขอันดับสุดท้ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน ซึ่งเกิดจากการนำผลกำไร(ขาดทุน) ขั้นต้นมาลบออกจากภาษีจ่าย กลายเป็นผลกำไร(ขาดทุน) สุทธิที่เป็นมาตรการสำคัญที่สุดในการวัดผลกำไรของบริษัท และเมื่อจบงวดบัญชีตัวเลขดังกล่าวนี้จะถูกนำไปบวกหรือลบจากกำไรสะสมซึ่งเป็นบรรทัดหนึ่งในส่วนของผู้ถือหุ้นในรายงานแสดงงบดุล(Balance Sheet)

จากส่วนประกอบทั้งหมดของรายงานงบกำไรขาดทุน จะเห็นได้ว่ารายงานดังกล่าว มีความซับซ้อนน้อยกว่ารายงานของงบดุลอย่างเห็นได้ชัด เพราะสะท้อนให้เห็นการผลการดำเนินธุรกิจของกิจการได้อย่างชัดเจน  สามารถนำไปวางแผนควบคุมหรือขยายกิจการในอนาคต ดังนั้นงบกำไรขาดทุนจึงเป็นรายงานทางบัญชีอีกตัวหนึ่งที่สำคัญและผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นต้องรู้

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : www.pangpond.co.th

 16204
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์