• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ทำไมธุรกิจขาดทุนถึงยังต้องเสียภาษี นี่คือเหตุผลที่คุณต้องอึ้ง!!

ทำไมธุรกิจขาดทุนถึงยังต้องเสียภาษี นี่คือเหตุผลที่คุณต้องอึ้ง!!

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ทำไมธุรกิจขาดทุนถึงยังต้องเสียภาษี นี่คือเหตุผลที่คุณต้องอึ้ง!!

ทำไมธุรกิจขาดทุนถึงยังต้องเสียภาษี นี่คือเหตุผลที่คุณต้องอึ้ง!!




สำหรับตอนนี้จะมาพูดถึงเรื่องของภาษีธุรกิจอีกเรื่องหนึ่งที่เจ้าของกิจการส่วนใหญ่ที่เป็นนิติบุคคลอย่าง ห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท ทั้งหลายนั้นมักจะละเลยและมองข้ามไป จนทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้นกว่าเดิมครับ 

สำหรับความเข้าใจผิดอีกหนึ่งเรื่องที่เจ้าของธุรกิจหลายๆคนมักจะเข้าใจผิด นั่นคือ เรื่องของการที่วางแผนทำให้กิจการของตัวเองนั้น “ขาดทุน” เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษี จนมีคำพูดติดปากที่ชอบบอกกับฝ่ายบัญชีหรือสำนักงานบัญชีว่า  "ไปทำตัวเลขมาให้ธุรกิจขาดทุนซะเลย จะะได้ไม่ต้องเสียภาษีไงละ วะฮะฮะฮ่าาาา" (เอ่อ.. อันนี้คนบ้านะครับ)

นี่แหละครับ!!! คือ เรื่องเข้าใจผิดที่เป็นปัญหาอย่างมากในการจัดการภาษีธุรกิจ เพราะว่าการเสียภาษีนั้นไม่ได้เกี่ยวกับ “กำไรหรือขาดทุนทางบัญชี” ที่ธุรกิจได้ทำมา แต่มันเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กำไรขาดทุนสุทธิทางภาษี” ต่างหากล่ะจ้า

เอาล่ะครับ..  เรามาปรับทัศนคติกันใหม่
มาทบทวนกันอีกครั้งนะครับว่า กำไรของธุรกิจมาจากไหน?

"กำไรของธุรกิจ" มาจาก  รายได้ หักด้วย ค่าใช้จ่าย ถ้ารายได้มากกว่าก็ถือว่าเป็น "กำไร" แต่ถ้ารายจ่ายมากกว่าก็กลายเป็น “ขาดทุน” หรือจะเขียนเป็นสมการง่ายๆออกมาได้ดังนี้ครับ

กำไร(ขาดทุน) = รายได้ - ค่าใช้จ่าย

นั่นคือหลักการทั่วไปที่เราเข้าใจกันดีอยู่แล้ว (ถ้าใครไม่เข้าใจตรงนี้ต้องรีบทำความเข้าใจไว้ด้วยนะครับ ถือว่าพรี่หนอมขอร้องเลยล่ะ - -”) โดยหลักการทางบัญชีนั้น เราจะใช้ กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี คือ กำไรขาดทุนที่มาจาก รายได้ทางบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายทางบัญชี หรือที่เราเห็นตัวเลขที่แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนนี่เองครับ

แต่สำหรับการคำนวณภาษีแล้ว เราไม่ได้สนใจเพียงแค่กำไรขาดทุนทางบัญชีเพียงอย่างเดียว เพราะเราสนใจ กำไร(ขาดทุน) ทางภาษี ต่างหากครับ!! ซึ่งเรียงลำดับมาได้ดังนี้ครับ

ภาษีของธุรกิจ = กำไร x อัตราภาษีเงินได้
โดยกำไร = กำไรทางภาษี

ดังนั้น... ถ้าธุรกิจมีขาดทุนทางภาษี
ถึงจะแปลว่าไม่ต้องเสียภาษียังไงล่ะครับ

นั่นหมายความว่า!! การที่ธุรกิจของเรามีขาดทุนทางบัญชี มันไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของเราจะไม่เสียภาษีนะครับ!!! เพราะกำไรสุทธิทางภาษี ไม่ใช่ กำไรสุทธิทางบัญชี (ขีดเส้นใต้ตรงนี้ไว้สิบห้าเส้นด่วนๆครับ)

แล้วกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีคืออะไรกันล่ะ ?

กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี คือ กำไรขาดทุนที่ใช้ในการคำนวณภาษี ซึ่งมาจาก รายได้ทางภาษีหักด้วยค่าใช้จ่ายทางภาษีออกมาเป็นตัวเลขกำไรหรือขาดทุนนั่นเองครับ

กำไร(ขาดทุน)ทางภาษี = รายได้ทางภาษี - ค่าใช้จ่ายทางภาษี

และเจ้ากำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีนั้น จะมีความแตกต่างกันทั้งหมด 4 รูปแบบดังนี้ครับ

1) รายได้ที่ถือเป็นรายได้ทางภาษี คือ รายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้แต่ต้องถือเป็นรายได้ทางภาษี
2) รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น คือ รายได้ที่ทางบัญชีถือเป็นรายได้ แต่ไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษี
3) รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางหลักภาษี
4) รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น คือ รายจ่ายที่ทางภาษีกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชี

ซึ่งรายการทั้ง 4 นี้
สามารถเขียนเป็นสมการปรับปรุงกำไรขาดทุนทางบัญชี
ให้เป็นกำไรขาดทุนทางภาษีออกมาดังนี้ครับ

กำไร (ขาดทุน) ทางภาษี
กำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี + รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ + รายจ่ายต้องห้าม - รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น - รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น

และสิ่งที่ทำให้ธุรกิจหลายๆธุรกิจมีปัญหาเรื่องภาษี ก็เพราะตัวของเจ้าของธุรกิจเองนั้น ไม่รู้เลยว่าการปรับปรุงกำไร(ขาดทุน)ทางบัญชีเป็นกำไร(ขาดทุน)ทางภาษีนั้่นมีขั้นตอนแบบนี้ จึงทำให้ตัวเลขที่ทางบัญชีพยายามทำให้ขาดทุนโดยการเพิ่มรายจ่ายนั้น กลายเป็นรายจ่ายต้องห้ามที่ต้องมาบวกกลับในการคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีเสียนี่ (เช่น รายจ่ายส่วนตัวของเจ้าของ รายจ่ายค่ารับรอง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ได้เกิดขึ้นจริง) แล้วแบบนี้ขาดทุนที่คุณพี่สร้างมาแทบตายมันจะมีประโยชน์อะไรกันล่ะคร้าบบบ

ดังนั้น การวางแผนภาษีธุรกิจที่ถูกต้องนั้นไม่ใช่การเพิ่มรายจ่ายธรรมดาครับ แต่เราต้องเพิ่มรายจ่ายที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ (หักได้เพิ่มขึ้น) เช่น ค่าใช้จ่ายในการอบรมสัมมนา ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างคนพิการ หรือค่าใช้ต่างๆที่กฎหมายกำหนดให้เป็นรายจ่ายได้มากขึ้่นต่างหากครับ

หวังว่าอ่านบทความนี้จบแล้ว เจ้าของธุรกิจทั้งหลายจะเลิกพูดคำว่า “ไปทำตัวเลขให้ขาดทุน” ได้แล้วนะครับ ทั้งเพื่อความสุขของนักบัญชีเอง และความสุขในอนาคตที่ธุรกิจของเราจะไม่มีปัญหากับพี่สรรพากรอีกด้วยคร้าบบบบ

สุดท้ายแล้วการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลแบบนี้อาจจะวุ่นวายและมีปัญหา ถ้าใครยังไม่ได้ตัดสินใจ ผมอยากแนะนำให้อ่านบทความที่มีชื่อว่า 3 เคล็ดลับวางแผนภาษีธุรกิจ ก่อนอีกครั้งเพื่อตัดสินใจนะคร้าบบบ




ที่มา: https://aommoney.com/

 1833
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์